ระบบเศรษฐกิจ
1. การเกษตร
โครงสร้างทางเศรษฐกิจและรายได้ประชากร ประชากรมีรายได้จากประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ทำไร่อ้อย ทำสวนพุทรา ทำสวนยางพารา และกสิกรรมผ้าไหม) การเกษตรกรรม ประกอบอาชีพทำนาและไร่อ้อยเป็นส่วนใหญ่ ปลูกยางพารา แตงไทย โดยทำนาข้าวได้เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และนาปลังบางส่วน ปลูกพุทราเป็นอาชีพเสริม จำนวนครัวเรือนในภาคเกษตร 1,091 ครัวเรือน
2. การประมง
- มีการเลี้ยงปลาหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลาหมอ ฯลฯ เป็นต้น
3. การปศุสัตว์
- มีการเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เป็ด ไก่ สุนัข แมว
4 .การบริการ
การบริการ ธุรกิจบริการร้านค้าที่จดทะเบียนในเทศบาล 124 ร้านประกอบด้วย
1. ร้านค้า 29 2. ร้านอาหาร 2
3. ร้านวัสดุก่อสร้าง 1 4. คาร์แคร์ ล้าง อัด ฉีด 1
5. ร้านผ้าไหม ,เสื้อผ้า, Otop 13 6. ร้านรับซื้อของเก่า 1
7. ร้านซ่อม 4 8. บ้านเช่า 12
9. ร้านวัสดุการเกษตร 8 10. ร้านถ่ายเอกสาร,พิมพ์การ์ด 3
11. โรงน้ำแข็ง 1 12. ร้านค้าวัสดุเครื่องยนต์ 2
13. ร้านเกมส์ 1 14. ร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ 1
15. คลินิก 5 แห่ง 16. ร้านค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า,เครื่องเสียง 3
17. โกดัง 1 18. ร้านขายอะไหล่มอเตอร์ไชต์,อะไหล่ยนต์ 6
19. ร้านน้ำมัน 1 20. ร้านซ่อมเครื่องยนต์ 5
21. โรงขนมจีน 1 22. ปั้มน้ำมันหลอด 3
23. ร้านตัดผม เสริมสวย 3 24. ร้านเย็บผ้า 8
25. โรงสีข้าว 8 26. ร้านนวดแผนโบราณ 1
5. การท่องเที่ยว
5.1 สหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน กาฬสินธุ์ จำกัด ห่างจากจังหวัดประมาณ 94 กม. ประกอบด้วยอาคารวิจิตรแพรวา ศาลาเฉลิมพระเกียรติ หอวัฒนธรรมผู้ไทย เป็นแหล่งขายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมแพรวาและสินค้าของที่ระลึกต่าง ๆ จากแหล่งผลิตในราคาท้องถิ่น รวมทั้งสินค้า Otop ของประชาชน
5.2 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมผู้ไทยผ้าไหมแพรวาบ้านโพน เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นศูนย์ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการในปีงบประมาณ 2555 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งอำเภอคำม่วงและสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นหน่วยดำเนินการเป็นศูนย์ที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตชนเผ่าผู้ไทยบ้านโพน เรื่องราวผ้าไหมแพรวา รวมถึงขนบธรรมเนียม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเด็นเรื่องราวต่าง ๆ ของชาวผู้ไทยบ้านโพน และยังมีหอชมเมืองเพื่อดูหมู่บ้านจากมุมสูงได้เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม 2558 โดย นางกอบกาญจน์ รัตนวรากูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
5.3 วัดป่ารังสีปาลิวัน มีพระบรมธาตุเจดีย์ฐิตสีลมหาเถรานุสรณ์ เป็นปูชนียเจดีย์พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานที่ชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อแสดงกตเวทิตาธรรมบูชาพระคุณแด่ “พระอริยเวที” หรือ “ หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล “ เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้รวบรวมจากคณะศิษย์ คณะศรัทธาด้วยความตั้งใจ พร้อมกันนั้นได้อันเชิญพระอรหันตธาตุ อัฐิธาตุ ทั้งนี้พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ได้เมตตาเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และเมตตาเป็นประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพร้อมเปิดเจดีย์แห่งนี้ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
6. การอุตสาหกรรม
- มีโรงสี 8 โรง
7. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
- กลุ่มเลี้ยงวัว - กลุ่มเลี้ยงเป็ด
- กลุ่มชาวนา - กลุ่มโฮมเสตย์
- กลุ่มจักสาน - กลุ่มไม้ผล
- กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า - กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ
- กลุ่มสตรีทอผ้าไหม - กลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
8. แรงงาน
- รับจ้างทั่วไป
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
1. ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน
ประวัติความเป็นมา
สำนักงานเทศบาลตำบลโพน ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลโพน เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม 2536 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2536 และ ได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลโพนตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
2. ข้อมูลด้านการเกษตร
การใช้ที่ดิน แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัย 25 %
พื้นที่สถานราชการ 1.46 %
พื้นที่สาธารณะ 10.65 %
พื้นที่เกษตรกรรม 62.89 %
3. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร
- ห้วยยาง
- ห้วยสมอทบ
- ห้วยกุดโง้ง
- ห้วยเหมืองน้อย
4. ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)
- หนองเจ้าคุณ ขนาด 60 ไร่ ใช้ทำน้ำประปาหมู่บ้าน
- หนองสิม ขนาด 60 ไร่
|